รูปซ้าย Step 1 การทำงานของ Ladder ในสเต็บนี้คือสัญญาน PLC จะวิ่งจากซ้ายผ่านหน้าคอนแทคปรกติปิด ไปจ่ายให้ Y0 ทำให้หลอดไฟสีแดงติดสว่าง
รูปซ้าย
วงจร Ldder PLC แบบ Self holding เมื่อกดปุ่ม Start หลอดไฟสีเขียวจะติดสว่างค้างไว้ เมื่อกด่ม Stop สีแดง หลอดไฟสีแดงจะติดสว่าง
รูปขวา
วงจรรีเลย์แบบ Self holding เมื่อกดปุ่ม Start หลอดไฟสีเขียวจะติดสว่างค้างไว้ เมื่อกด่ม Stop สีแดง หลอดไฟสีแดงจะติดสว่าง
รูปซ้าย Step 2 การทำงานของวงจรในสเต็บนี้คือ เมื่อเรากดปุ่ม Start สัญญาน PLC จะไหลจากซ้ายผ่านสวิตซ์ Start ผ่านสวิตซ์ Stop และผ่านไปยัง M0 ซึ่งเป็นรีเลย์ ภายใน PLC การใช้ M ของPLC ก็เพื่อให้วงจรครบองค์ประกอบเหมือนกับ วงจรรีเลย์
รูปขวา Step 2 การทำงานของวงจรในสเต็บนี้คือ เมื่อเรากดปุ่ม Start กระแสไฟฟ้าจะไหลจากซ้ายผ่านสวิตซ์ Start ผ่านสวิตซ์ Stop และไปจ่ายไฟให้กับขาคอยด์ Relay
รูปซ้าย Step 3 การทำงานของวงจรในสเต็บนี้คือ รีเลย์ภายใน M0 ทำงาน สัญญาน PLC จะไหลผ่านหน้าคอนแทค NO ของ M0 ไหลผ่านไปยังปุ่ม Stop และไปจ่ายไฟให้กับขาคอยด์ M0 ทำให้เมื่อเราปล่อยนิ้วจากปุ่ม Start M0 จะยังทำงานค้างต่อไป ในขณะเดียวกันเมื่อ M0 ทำงาน สัญญาน PLC จะไหลผ่านหน้าคอนแทครีเลย์ NO ไปจ่ายไห้ Y0 ทำไห้หลอดไฟสีเขียวติดสว่างค้างไว้
รูปขวา Step 3 การทำงานของวงจรในสเต็บนี้คือ เมื่อรีเลย์ RY1 ทำงาน กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านหน้าคอนแทค NO ของรีเลย์ และผ่านปุ่ม Stop และไปจ่ายไฟให้กับขาคอยด์ของ Relay ทำให้เมื่อเราปล่อยนิ้วจากปุ่ม Start รีเลย์จะยังทำงานค้างต่อไป ในขณะเดียวกันเมื่อรีเลย์ทำงาน กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านหน้าคอนแทครีเลย์ NO ไปจ่ายไห้หลอดไฟสีเขียวติดสว่างค้างไว้
รูปซ้าย Step 4 การทำงานของวงจรในสเต็บนี้คือ เมื่อกดปุ่ม Stop รีเลย์ภายใน M0 จะหยุดทำงาน เมื่อ M0 หยุดทำงาน สัญญานจาก PLC จะวิ่งผ่านหน้าคอนแทคปรกติปิด ไปจ่ายให้ Y1 ทำไห้หลอดไฟสีแดงติดสว่าง
รูปขวา Step 4 การทำงานของวงจรในสเต็บนี้คือ เมื่อกดปุ่ม Stop รีเลย์จะหยุดทำงาน เมื่อรีเลย์หยุดทำงาน กระแสไฟฟ้าจากไลน์จะวิ่งผ่านหน้าคอนแทคปรกติปิด ไปจ่ายให้หลอดไฟสีแดงติดสว่าง