วงจร Star-Delta คือ
วงจรสตาร์ทมอเตอร์ที่มีขนาดกำลังวัตต์ ตั้งแต่ 7.5kW ขึ้นไปที่มีการใช้งานแพร่หลายตั้งแต่ยุคอดีตจนถึงปัจจุบัน เนื่องจากการทำงานที่ง่ายและเชื่อถือได้ แต่ทำไมถึงต้องสตาร์ทมอเตอร์แบบ Star-Delta กันหละ
 
แอดมินมีคำตอบพร้อมแล้วมาเริ่มกันเลย
เนื่องจากการสตาร์ทมอเตอร์แบบจ่ายไฟให้กับมอเตอร์โดยตรง (แบบ DOL) นั้นจะทำให้ขณะที่มอเตอร์สตาร์ท ตั้งแต่หยุดนิ่งจนถึงทำงานเต็มกำลัง จะทำให้กินกระแสไฟฟ้าสูงถึง 4-6 เท่าของกระแสไฟฟ้าที่มอเตอร์ทำงานปกติ
 
ยกตัวอย่างเช่น ถ้ามอเตอร์ กินกระแสไฟฟ้าที่ 5A ถ้าเราสตาร์ทมอเตอร์แบบ DOL มอเตอร์จะกินกระแสสูงสุดที่ประมาณ 30A ซึ่งก็รับได้ไม่ได้มีปัญหาอะไร แต่ถ้าหากเราจะสตาร์ทมอเตอร์ที่กินกระแสไฟฟ้าที่ 50A หล่ะ กระแสสูงสุดจะไปอยู่ที่ 300A ซึ่งค่ากระแสสูงระดับนี้ เบรกเกอร์หรือแมกเนติก ต้องเกิดความเสียหายอย่างแน่นอน จึงมีการคิดค้นวิธีการสตาร์ท มอเตอร์แบบ Star-Delta ขึ้นซึ่งการสตาร์ทด้วยวิธีนี้ กระแสไฟฟ้าของมอเตอร์ จะลดลงมาเหลือแค่ 1/3 ของการสตาร์ทมอเตอร์แบบ DOL และวงจรไม่ซับซ้อน ทำให้มีการใช้งานแพร่หลายจนถึงทุกวันนี้
 
แอดมินจึงอยากยกตัวอย่างวงจรควบคุมของ Star-Delta มาแปลงให้อยู่ในรูปแบบ Ladder PLC เพื่อที่เราจะได้เข้าใจวิธีการทำงานของวงจรรีเลย์ และสามารถเอามาประยุกต์ให้อยู่ในรูปแบบของ PLC ได้

การทำงานของวงจร จังหวะ Star

1.เมื่อกดปุ่ม Start กระแสไฟฟ้าจะไหลจาก L1 ผ่าน Overload ปุ่ม Stop ปุ่ม Start และจ่ายไฟให้ Timer T1

2. ในขณะเดียวกัน กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่าน หน้าคอนแทคปรกติปิด NC ของ T1 ผ่านหน้าคอนแทคช่วยของ K2 และจ่ายไฟให้ K3

3.เมื่อ K3 ทำงาน หน้าคอนแทคช่วยของ K3 กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านหน้าคอนแทคของ K3 ไปจ่ายไฟให้ K1 วงจรจะเข้าสู่ Star mode

4.เมื่อ Magnetic main K1 ทำงาน กระแสไฟฟ้าผ่านหน้าคอนแทคช่วย ของ K1 และจ่ายให้คอยล์ K1ทำงาน ในขณะเดียวกันหน้าคอนแทค K1 อีกชุดจะทำหน้าที่ เซลล์ล็อก ปุ่ม Start (คือการใช้หน้าคอนแทคช่วย ทำหน้าที่จ่ายกระแสไฟแทนปุ่มกด)

 

การทำงานของวงจร จังหวะ Delta

1.เมื่อ Timer T1 นับเวลาจนครบเวลาที่ตั้งไว้ หน้าคอนแทคจะเปลี่ยนสถานะจาก NC มาเป็น NO K3 จึงหยุดทำงาน กระไฟฟ้าจะไหลผ่านหน้าคอนแทค NO ของ T1 แทน และจ่ายไฟ ไปยังหน้าคอนแทคช่วย K3 และจ่ายไฟไปยัง K2

2.เมื่อกดปุ่ม Stop K1 จะหยุดทำงาน และวงจรทั้งหมดจะหยุดการทำงาน รวมถึงเมื่อเกิดการ Overload วงจรจะหยุดทำงานเช่นกัน

สำหรับผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของวงจรรีเลย์ และการเขียน PLC อยู่แล้วนั้น จะสามารถมองวงจรรีเลย์และนำไปเขียนในรูปแบบ Ladder ใน PLC ได้เลย แต่มือใหม่แนะนำว่าควรจะเริ่มจากการทดลองเขียนวงจรรีเลย์ให้อยู่ในรูปแบบของ Ladder เสียก่อน เพราะจะได้เข้าใจการเขียน Ladder และทำให้ง่ายต่อการนำไปเขียนเป็น Ladder PLC

จากภาพที่แสดงจะเห็นได้ว่า วงจรที่เราแปลงเป็น Ladder ที่เขียนในรูปแบบ PLC นั้นเหมือนกันกับวงจรรีเลย์ ทำให้เมื่อเราเข้าใจวงจรรีเลย์ ก็ไม่ยากที่จะเข้าใจ Ladder diagram

สิ่งที่แตกต่างกันจริงๆ นั่นคือ วงจรรีเลย์นั้นเราต้องเชื่อมโยงสายไฟฟ้าที่ตัวอุปกรณ์อย่างรีเลย์หรือแม็กเนติก เพื่อให้เกิดเงื่อนไข แต่ในรูปแบบของ PLC นั้นเราสามารถเขียน Ladder ใน PLC ได้โดยตรงอีกทั้งยังสามารถแก้ไขการทำงานได้อย่างอิสระโดยไม่ต้องแก้ไขสายไฟไวริ่งอีกด้วย