ตัวอย่างการจำลองลำดับการทำงานแบบ Sequence ที่เป็นการใช้งานจริง เมื่อเราวางการทำงานไว้เป็นลำดับขั้น เราจะเข้าใจและคิดวิธีในการสร้างโปรแกรมได้ง่าย โปรแกรมก็เริ่มจากการเขียนเป็นฟังก์ชันต่อเนื่อง ไปเรื่อยๆ จนจบ หากเราไม่ใช้วิธีนี้ เราจะเกิดความสับสนว่าจะต้องเขียนอะไรก่อนหลัง และจะสับสนว่าควรเริ่มต้นยังไง
จากบล็อกไดอะแกรมที่แสดง จะเป็นการแสดงคอนเซ็ปต์การทำงานของไฟวิ่ง ซึ่งเรานำเอามาเขียนในรูปแบบของบล็อกไดอะแกรม เพื่อให้เราได้เข้าใจถึงลำดับขั้นตอนการทำงาน และได้รับรู้ถึงแนวทางที่จะจัดการกับเงื่อนไขเมื่อนำไปเขียนใน PLC
จากภาพจะเห็นได้ว่า เราสามารถเขียน Ladder diagram แบบเคลียไปทีละเงื่อนไขตามบล็อกไดอะแกรมได้ โดยในแต่ละเงื่อนไขของบล็อก เราต้องคิดเงื่อนไข Ladder ให้ได้ว่าต้องทำอย่างไร การทำงานจึงจะสามารถเป็นไปตามที่บล็อกไดอะแกรมนั้นกำหนดไว้ได้ การทำงานของ Ladder ที่แสดงมีการทำงานดังต่อไปนี้
1.เมื่อมีเงื่อนไขเริ่มและหยุด ให้นึกไว้ได้เลยว่าต้องเกี่ยวข้องกับการ Self hold แน่นอน โดยการทำงานคือ เมื่อกด X0 M0 จะทำงานและเกิดการทำงานค้างด้วยเงื่อนไข Self hold และเมื่อกด X1 M0 จะหยุดทำงาน
2.เมื่อ M0 ทำงาน Y0 จะทำงานทันที และเมื่อ T0 นับจนครบ 1วินาที T0 จะตัดการทำงานของ Y0 และT0 ทำงานค้าง
3.เมื่อ T0 ทำงาน Y1 จะทำงานทันที และเมื่อ T1 นับจนครบ 1วินาที T1 จะตัดการทำงานของ Y1 และT1 ทำงานค้าง
4.เมื่อ T0 และ T1 ทำงาน Y2 จะทำงานทันที และเมื่อ T2 นับจนครบ 1วินาที T2 จะตัดการทำงานของ Y2 และT2 ทำงานค้าง
5.เมื่อ T2 ทำงาน จะเป็นการรีเซ็ตการทำงานของเงื่อนไขหลอดไฟทั้งหมด และเริ่มวนหลอดไฟอีกครั้งเป็นแบบนี้ไปเรื่อย จนกว่าจะกดปุ่ม Stop X1