PLC นั้นมีองค์ประกอบหลายอย่างในการใช้งานเช่น
คอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งโปรแกรม GX developer หรือ GX work 2 สายสัญญาณลิงก์ PLC ตัว PLC สำหรับทดลองรวมถึงอุปกรณ์อินพุตเอาต์พุตต่างๆ ที่ต้องจัดเตรียม
สำหรับผู้ที่เริ่มศึกษาอาจไม่รู้ว่าต้องเริ่มต้นยังไงต้องเตรียมอะไรบ้าง
ในหัวข้อนี้ทางเพจ PLC X จึงจะนำเสนอในทุกขั้นตอนแบบ Step by step เพื่อให้ผู้เริ่มต้นได้เข้าใจได้ง่ายที่สุด
ก่อนที่จะเริ่มต้นการเขียน PLC
สิ่งที่ต้องเตรียมเลยคือ PLC นั่นเอง
ซึ่ง PLC ยี่ห้อ Mitsubishi นั้นก็มีหลากหลายรุ่น
แต่รุ่นในปีเก่าๆ นั้นจะเลิกผลิตไปแล้ว เช่น FX0N FX1N FX2N Mitsu A Serie เป็นต้น
แต่รุ่นที่เลิกผลิตเหล่านี้ยังสามารถซื้อที่เป็นมือสองได้ตามเว็บขาย PLC หรือกลุ่มใน Facebook
แต่ถ้าหากผู้เริ่มต้นงบน้อยจริงๆ สามารถใช้ PLC จีน ที่สร้างเลียนแบบของจริงที่ ฟังก์ชันและการใช้งานแทบจะเหมือนกับของจริง
ซึ่งเพียงพอต่อการเรียนรู้การเริ่มเขียนโปรแกรม PLC
ขั้นตอนหลังจากที่เราเลือก PLC ได้แล้ว
เราก็จะต้องมาเลือกสายลิงก์ PLC ที่จะใช้งงานเนื่องจากสายลิงก์นั้นมีหลากหลายรูปแบบ
ทางเพจจึงยกตัวอย่างสายที่มีขายในไทยและหาซื้อได้ง่ายดังที่แสดงในรูป ซึ่งแต่ละสายจะมีราคาไม่เท่ากัน
และเมื่อเราเลือกสายลิงก์ PLC ได้แล้วสิ่งที่ต้องเตรียมต่อมาคือ
ซอฟต์แวร์ที่ใช้เขียน Program PLC นั่นก็คือ GX Work2 หรือ โปรแกรม GX Developer ที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมต่างๆให้กับ PLC และอัปโหลดโปรแกรมที่เขียน ผ่านสายลิงก์ไปยัง PLC
เมื่อเราเตรียม PLC สายลิงก์ และโปรแกรมเรียบร้อย
ถัดมาคืออุปกรณ์ อินพุตที่เอาไว้ส่งคำสั่งให้กับ PLC เช่น
สวิตช์กดติดปล่อยดับ ใช้ควบคุมการเกิดปิดการทำงานของโปรแกรม
เซ็นเซอร์จับวัตถุด้วยแสง ที่ใช้ตรวจจับวัตถุระยะไกลด้วยการยิงแสงอินฟราเรด ไปที่วัตถุแล้วสะท้อนกลับและส่งสัญญาณให้ PLC Proximity sensor ใช้สำหรับตรวจจับวัตถุที่เป็นโลหะ และส่งสัญญาณให้ PLC
ลิมิตสวิตช์ที่ทำหน้าที่ จำกัดขอบเขตของอุปกรณ์ที่เคลื่อนที่ได้เช่น ระยะการวิ่งของรางสไลด์เป็นต้น
ซึ่งอุปกรณ์ที่ทางเพจได้นำเสนอนี้เพียงพอต่อการเรียนรู้การสร้างเงื่อนไขโปรแกรมของ PLC ที่ทั้งมีราคาไม่แพง ซึ่งอยู่ในราคาหลักร้อย
เมื่อเราเตรียม อุปกรณ์อินพุตครบ
เราก็ต้องมีอุปกรณ์เอาต์พุตที่จะใช้ทดลองสั่งงาน หรือใช้จำลองเงื่อนไขที่เราจะสร้างขึ้น
เพื่อที่จะได้เรียนรู้การทำงานจริงของอุปกรณ์ ว่าทำงานอย่างไร และจะควบคุมการทำงานอย่างไรจึงจะเหมาะสม
จากรูปที่แสดงคือการจำลองการต่อใช้งานจริงกับ PLC Mitsubishi รุ่น FX3G-24MR
โดยฝั่งอินพุต จะใช้สวิตช์กดติดปล่อยดับสีเขียวและแดง เอาต์พุตจะเป็น หลอดไฟแสดงผล (Pilot lamp) สีเขียวและแดง
เมื่อเราต่อวงจรเสร็จ ขั้นต่อไปคือการฝึกตั้งโจทย์และทดลองเขียนโปรแกรม PLC