วงจร Star-Delta เมื่อนำมาเขียนในรูปแบบ PLC
นอกจากเราจะเขียนในแบบเดียวกันกับวงจรรีเลย์ เรายังสามารถเขียนในแบบอื่นๆ ได้
ซึ่งวิธีการเขียน Ladder นั้นไม่มีถูกหรือผิด ถ้าหากว่าการเขียนนั้นยังสามารถทำให้สเต็ปการทำงานของวงจร หรือโปรแกรมยังใช้งานได้เหมือนเดิม
แบบที่ 1
เป็นแบบที่เข้าใจได้ง่ายที่สุดเนื่องจาก เป็นการแปลงมาจากวงจรรีเลย์โดยตรง
แต่การเขียน Ladder แบบนี้ใช้ไม่ได้กับทุกเงื่อนไขของวงจรรีเลย์ ทำให้แทนที่เราจะจดจำวิธีการเขียน Ladder เราจะใช้ความเข้าใจและนึกภาพลำดับการทำงานและแปลงเป็น Ladder diagram แทน
วงจร Star-Delta เป็น Ladder PLC แบบที่ 2
จะเป็นการประยุกต์ใช้คำสั่ง Set และ Reset แทนการใช้หน้าคอนแทคเพื่อสร้างเงื่อนไข Self hold เพื่อลดความยุ่งยากในการเขียนเงื่อนไข
วงจร Star-Delta เป็น Ladder PLC แบบที่ 3
วิธีนี้จะใช้หน้าคอนแทคแบบขอบขาขึ้นและคำสั่ง Move คำสั่งเปรียบเทียบ เพื่อสร้างเงื่อนไขการควบคุมการทำงานของแมกเนติก Star-Delta การเขียนด้วยวิธีนี้จะทำให้ลดการสับสนในการไล่วงจร Ladder