“วงจรรีเลย์ เมื่อเทียบกับ PLC” วงจรรีเลย์คือการที่เรานำเอารีเลย์หนึ่งตัวหรือหลายตัวมาเชื่อมต่อกันจนเกิดเป็นวงจรที่สามารถทำงานได้ตามเงื่อนไขที่ออกแบบไว้ข้อดีของวงจรรีเลย์คือราคาถูกและไม่ซับซ้อนตรวจซ่อมง่าย แต่ข้อเสียคือหากต้องการเปลี่ยนฟังก์ชั่นการทำงานจะทำได้ยากเนื่องจากต้องรื้อสายไฟเพื่อแก้ไขวงจรการทำงาน ข้อเสียอีกอย่างคือหากวงจรที่มีความซับซ้อนจะทำไห้ใช้พื้นที่ในการติดตั้งมากตามไปด้วยซึ่งจะทำไห้เกะกะเทอะทะไม่สดวกต่อการใช้งาน ส่วน PLC นั้นข้อดีคือเราไม่ต้องใช้รีเลย์ในการเสร้างเงื่อนไขเราสามารถเขียนเอนไขการทำงานใน PLC ได้เลยไม่ว่าจะเยอะหรือซับซ้อนแค่ใหน PLC ก็ยังสามารถทำได้ แต่ข้อเสียคือราคาค่อนข้างแพงหากจะนำมาใช้กับงานขนาดเล็ก ทำให้ในวงจรขนาดเล็กเงื่อนไขไม่มาก วงจรรีเลย์จึงยังจำเป็นอยู่
จากรูปที่แสดง เป็นตัวอย่างของวงจรที่มีการทำงานแบบ เซลฟ์โฮลดิ้ง หรือก็คือเมื่อกดปุ่มสตาร์ทสีเขียว เหลอดไฟสีเขียวจะติดสว่างค้างอยู่อย่างนั้นจนกว่าจะกดปุ่ม สต็อปสีแดง ซึ่งวงจร รีเลย์ หรือ วงจร PLC ที่แสดงนั้นจะทำงานเหมือนกัน แต่ข้อแตกต่างคือวงจรรีเลย์นั้นเราต้องเชื่อมโยงสายไฟตามวงจรที่ออกแบบไว้ แต่PLC นั้นเราเพียงแค่เชื่อมต่อสวิตซ์ เขียวและแดงเข้าทางอินพุต และหลอดไฟ แดงเขียวทางเอาต์พุตเท่านั้น จะเห็นได้ว่าการเชื่อมต่อมีความง่ายกว่าวงจรรีเลย์มาก แต่ PLC นั้นเราจะไปเขียนเงื่อนไขที่ภายในของ PLC แทนทำไห้ปรับเปลี่ยนเงื่อนไขการทำงานได้ตลอดเวลา

รูปซ้าย

วงจร Ldder PLC แบบ Self holding เมื่อกดปุ่ม Start หลอดไฟสีเขียวจะติดสว่างค้างไว้ เมื่อกด่ม Stop สีแดง หลอดไฟสีแดงจะติดสว่าง

รูปขวา

วงจรรีเลย์แบบ Self holding เมื่อกดปุ่ม Start หลอดไฟสีเขียวจะติดสว่างค้างไว้ เมื่อกด่ม Stop สีแดง หลอดไฟสีแดงจะติดสว่าง

รูปซ้าย Step 1 การทำงานของ Ladder ในสเต็บนี้คือสัญญาน PLC จะวิ่งจากซ้ายผ่านหน้าคอนแทคปรกติปิด ไปจ่ายให้ Y0 ทำให้หลอดไฟสีแดงติดสว่าง

รูปขวา Step 1 การทำงานของวงจรในสเต็บนี้คือกระแสไฟฟ้าจากไลน์จะวิ่งผ่านหน้าคอนแทคปรกติปิด ไปจ่ายให้หลอดไฟสีแดงติดสว่าง

รูปซ้าย Step 2 การทำงานของวงจรในสเต็บนี้คือ เมื่อเรากดปุ่ม Start สัญญาน PLC จะไหลจากซ้ายผ่านสวิตซ์ Start ผ่านสวิตซ์ Stop และผ่านไปยัง M0 ซึ่งเป็นรีเลย์ ภายใน PLC การใช้ M ของPLC ก็เพื่อให้วงจรครบองค์ประกอบเหมือนกับ วงจรรีเลย์

รูปขวา Step 2 การทำงานของวงจรในสเต็บนี้คือ เมื่อเรากดปุ่ม Start กระแสไฟฟ้าจะไหลจากซ้ายผ่านสวิตซ์ Start ผ่านสวิตซ์ Stop และไปจ่ายไฟให้กับขาคอยด์ Relay

รูปซ้าย Step 3 การทำงานของวงจรในสเต็บนี้คือ รีเลย์ภายใน M0 ทำงาน สัญญาน PLC จะไหลผ่านหน้าคอนแทค NO ของ M0 ไหลผ่านไปยังปุ่ม Stop และไปจ่ายไฟให้กับขาคอยด์ M0 ทำให้เมื่อเราปล่อยนิ้วจากปุ่ม Start M0 จะยังทำงานค้างต่อไป ในขณะเดียวกันเมื่อ M0 ทำงาน สัญญาน PLC จะไหลผ่านหน้าคอนแทครีเลย์ NO ไปจ่ายไห้ Y0 ทำไห้หลอดไฟสีเขียวติดสว่างค้างไว้

รูปขวา Step 3 การทำงานของวงจรในสเต็บนี้คือ เมื่อรีเลย์ RY1 ทำงาน กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านหน้าคอนแทค NO ของรีเลย์ และผ่านปุ่ม Stop และไปจ่ายไฟให้กับขาคอยด์ของ Relay ทำให้เมื่อเราปล่อยนิ้วจากปุ่ม Start รีเลย์จะยังทำงานค้างต่อไป ในขณะเดียวกันเมื่อรีเลย์ทำงาน กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านหน้าคอนแทครีเลย์ NO ไปจ่ายไห้หลอดไฟสีเขียวติดสว่างค้างไว้

รูปซ้าย Step 4 การทำงานของวงจรในสเต็บนี้คือ เมื่อกดปุ่ม Stop รีเลย์ภายใน M0 จะหยุดทำงาน เมื่อ M0 หยุดทำงาน สัญญานจาก PLC จะวิ่งผ่านหน้าคอนแทคปรกติปิด ไปจ่ายให้ Y1 ทำไห้หลอดไฟสีแดงติดสว่าง

รูปขวา Step 4 การทำงานของวงจรในสเต็บนี้คือ เมื่อกดปุ่ม Stop รีเลย์จะหยุดทำงาน เมื่อรีเลย์หยุดทำงาน กระแสไฟฟ้าจากไลน์จะวิ่งผ่านหน้าคอนแทคปรกติปิด ไปจ่ายให้หลอดไฟสีแดงติดสว่าง