PLC ที่มีใช้งานในปัจจุบันนั้นหากจะจำแนกประเภทจากเอาต์พุตของ PLC ก็สามารถแยกได้เป็นสองประเภทคือแบบที่มีโครงสร้างเอาต์พุตแบบ Transistor และแบบที่มีโครงสร้างเอาต์พุตแบบ Relay ซึ่งทั้งสองอาจพูดได้ว่าใช้งานคล้ายคลึงกันแต่ไม่เหมือนกัน

โดยเอาต์พุตแบบ Transistor นั้นสามารถจ่ายเอาต์พุตที่มีความี่ในการเปิดและเปิดแบบเร็วๆได้เช่นการจ่ายเอาต์พุตเพื่อคุมสเต็บมอเตอร์ หรือการควบคุม Servo motor และยังเหมาะกับเอาต์พุตที่มีการเปิดปิดบ่อยๆ

แต่ข้อเสียคือเนื่องจาก Transistor เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้กับแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง จึงทำให้ไม่สามารถนำเอาไฟฟ้ากระแสสลับมาผ่านเอาต์พุตแบบ Transistor ได้ หากจำเป็นต้องใช้งานจะต้องเอาเอาต์พุตของ PLC ไปขับ Relay แล้วจึงไปขับโหลดแทน

แต่หากเป็น PLC แบบเอาต์พุต Relay จะทำให้เอาสัญญานอะไรมาผ่านก็ได้ ทั้งที่เป็นกระแสตรง และกระแสสลับเนื่องจากโครงสร้างของ Relay นั้นคือหน้าคอนแทคโลหะที่ทำหน้าที่เป็นสะพานไฟ แต่ข้อเสียคือไม่สามารถที่จะจ่ายเอาต์พุตที่มีความถี่สูงๆได้เนื่องจากข้อจำกัดทางโครงสร้างของตัว Relay ที่เป็นขดลวดเหนี่ยวนำ

อีกทั้งการที่ตัดต่อสัญญานบ่อยๆจะทำให้หน้าคอนแทนรีเลย์เสื่อมสภาพเร็ว ด้วยข้อดีและข้อจำกัดของเอาต์พุตทั้งสองแบบ มือใหม่ที่เริ่มใช้งาน PLC จึงควรศึกษาถึงความเหมาะสม ก่อนที่จะซื้อเพื่อนำไปใช้งาน

จากภาพประกอบด้านบนคือรูปร่างตัวถังและสัญลักษณ์ของทรานซิสเตอร์ซึ่งผมจะใช้การเปรียบเทียการทำงานของกับก็อกน้ำ เพื่อให้เข้าใจการทำงานของทรานซิสเตอร์ได้ง่ายยิ่งขึ้น ทรานซิสเตอร์ประกอบด้วยขาสามขา คือ ขา Base ที่ทำหน้าที่รับเอากระแสไฟฟ้าจากวงจรควบคุมเพื่อมาเปิดการทำงานของทรานซิสเตอร์ เปรียบได้กับขาเปิดปิดวาล์วของก็อกน้ำที่ใช้ควบคุมการไหลของน้ำ และขา Collector ทำหน้าที่เป็นขารับเข้าของกระแสไฟฟ้า เมื่อเปรียบเทียบกับก็อกน้ำจะเทียบได้กับขาเข้าของก็อกน้ำ ขาสุดท้ายคือขา Emitter ทำหน้าที่จ่ายกระแสไฟฟ้าขาออก ทำให้ลูปวงจรไฟฟ้าครบวงจร ซึ่งเปรียบเทียบได้กับด้านจ่ายน้ำออกของก็อกน้ำ

จากภาพประกอบด้านบนคือรูปร่างสัญลักษณ์ของทรานซิสเตอร์ซึ่งผมจะใช้การเปรียบเทียการทำงานของกับก็อกน้ำ เพื่อให้เข้าใจการทำงานของทรานซิสเตอร์ได้ง่ายยิ่งขึ้น เมื่อ S1 ทำงานจะมีกระแสไฟฟ้าไหลจากแหล่งจ่ายผ่านตัวต้านทานและไปจ่ายให้กับขา Base ของทรานซิสเตอร์ ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าไหลากขา Baseไปที่ขา Emitter ซึ่การทำงานในขั้นตอนนี้เหมือนกับการที่เราออกแรงเปิดก็อกน้ำ ในขณะเดียวกันกับที่กระแสขา Base ไหล ทรานซิสเตอร์จะเปิดการทำงานทำไห้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านโหลด และไหลมายังขา Collector ผ่านทรานซิสเตอร์และไหลออกไปยังขา Emitter ทำไหลกระแสไหลครบวงจรและโหลดทำงาน ซึ่งเหมือนกับการเปิดก็อกน้ำและน้ำไหลเข้าที่ด้านเข้าและน้ำไหลออกที่ด้านออก เมื่อต้องการจะหยุดการทำงานของรานซิสเตอร์ ก็ให้ทำการหยุดการทำงานของ สวิตซ์ S1 ทรานซิสเตอร์จึงจะหยุดทำงาน

จากภาพเป็นการจำลองภาพภายในของรีเลย์ซึ่งการทำงานคือจะมีขดลวดที่ทำหน้าที่สร้างสนามแม่เหล็กเมื่อได้รับกระแสไฟฟ้า เมื่อเกิดสนามแม่เหล็กขึ้น ขา Armature ของรีเลย์ที่ทำหน้าที่เป็นขา Common จะถูกสนามแม่เหล็กของขดลวดดึงดูดเข้ามาจนขา Armature ติดกับคอยด์ของรีเลย์ ทำไห้ตอนนี้ ขาCommon จะมาอยู่ที่ตำแหน่ง NO ทำไห้เราสามารถ ควบคุมการทำงานของรีเลย์ได้ด้วยจ่ายจ่ายกระแสไฟฟ้าควบคุมที่คอยด์รีเลย์นั่นดอง
จากภาพเป็นการเปรียบเทียบการทำงาน ของวงจรทรานซิสเตอร์ และรีเลย์ซึ่งทั้งสองวงจรสามารถขับโหลดได้เหมือนกัน แต่ต่างกันที่วิธีการต่อใช้งาน ซึ่ข้อดีของทรานซิสเตอร์คือทำงานได้รวดเร็วเพราะเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิก ส่วนรีเลย์ข้อดีคือ สามารถรับสัญญานได้ทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็น AC,DC,Analog signal,Digital signal แต่ข้อเสียคือไม่เหาะกับการทำงาน ติดดับแบบรวดเร็ว นั้นเอง