เปรียบเทียบโครงสร้างและการใช้งานระหว่าง PLC Mitsubishi กับ PLC Omron
PLC ที่มีใช้งานในปัจจุบันนั้นมีหลากหลายยี่ห้อ
แต่ในฝั่งของยี่ห้อจากญี่ปุ่นที่ถูกพูดถึงและคนส่วนใหญ่จะคิดถึงนั้น ก็คือ PLC ยี่ห้อ Mitsubishi และ Omron
ซึ่งมีการใช้งานคล้ายกันแต่ไม่เหมือนกัน ทางเพจจึงอยากนำเสนอความแตกต่างของสองยี่ห้อนี้ให้ผู้เริ่มต้นได้ศึกษากัน
จากภาพที่แสดง จะเห็นได้ว่าในส่วนของ Input และ Output นั้นมีความคล้ายกันมาก แต่จะแตกต่างกันที่การเรียกชื่อตัวแปร Input และ Output ซึ่งมีจุดเปรียบเทียบใหญ่ๆดังนี้
1.จุดเชื่อมต่อ Sink/Source ด้าน OMRONใช้คำว่า COM ส่วนทาง Mitsubishi ใช้ S/S
2.จุดเชื่อมต่อ INPUT ด้าน OMRONใช้ ตัวเลข 00 ไล่ไปเรื่อยๆ ส่วนทาง Mitsubishi ใช้ตัวแปร X
3.จุดเชื่อมต่อ แหล่งจ่าย 24V ด้าน OMRONใช้สัญลักษณ์ + – ส่วนทาง Mitsubishi ใช้ 24V 0V
4.จุดเชื่อมต่อ OUTPUT ด้าน OMRONใช้ ตัวเลข 00 ไล่ไปเรื่อยๆ ส่วนทาง Mitsubishi ใช้ ตัวแปร Y
จากภาพที่แสดง จะเห็นได้ว่า
รูปแบบของการเขียนโปรแกรม Ladder นั้นใช้สัญลักษณ์หน้าคอนแทคแบบเดียวกัน หน้าตาการเขียนโปรแกรมเหมือนกัน
แต่จุดที่แตกต่างนั้นคือค่าของตัวแปรที่ใช้แทน Input และ Output
ทำให้เมื่อเราเข้าใจวิธีการเขียน Ladder เราจะสามารถเขียน PLC OMRON หรือ Mitsubishi ได้หมดเพราะพื้นฐานการเขียน Ladder นั้นก็มาจากวงจรรีเลย์
ส่วนฟังก์ชัน อื่นๆ ที่ไม่ใช่หน้าคอนแทคเราสามารถอ้างอิงได้จากคู่มือของ PLC ยี่ห้อนั้นๆ ได้เพื่อการใช้งานที่ถูกต้อง