สายสัญญาณแบบตีเกลียว และไม่ตีเกลียว
สัญญาณรบกวนกับระบบไฟฟ้าเป็นสิ่งที่จะมาคู่กันเสมอไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ โดยเฉพาะการเดินสายสัญญาณควบคุมคู่ไปกับสายไฟ Power ที่จ่ายไฟไปยังมอเตอร์ หรือโหลดไฟฟ้าอื่นๆที่มีการแผ่สนามแม่เหล็กไฟฟ้าออกมา ซึ่งสัญญาณรบกวนนี้อาจไม่มีผลกระทบกับระบบควบคุมแบบวงจรรีเลย์ แต่ถ้าสัญญาณรบกวนนี้ปะปนเข้าไปกับระบบควบคุมที่วงจรภายในเป็นไมโครคอมพิวเตอร์ ที่มีความไวต่อสัญญาณรบกวน  ปัญหาที่เกิดขึ้นอาจจะกระทบในระดับเล็กน้อย ไปจนถึงระดับที่การควบคุมการทำงานของ PLC หรือ ไมโครคอนโทรลเลอร์ทำงานผิดพลาดจนหยุดการทำงาน หรือทำงานผิดพลาดได้
ทั้งนี้ปัญหาที่เกิดขึ้นเราสามารถหาวิธีป้องกันสัญญาณรบกวนที่มากับสายสัญญาณได้ โดยการเลือกใช้สายสัญญาณแบบตีเกลียว หรือสายสัญญาณแบบชีลด์ที่มีคุณสมบัติลดและป้องกันสัญญาณรบกวนในสายสัญญาณได้

จากภาพที่แสดง
เป็นลักษณะของรูปคลื่นที่เกิดการเปลี่ยนแปลงเมื่อมีสัญญาณรบกวนเข้ามาในสายสัญญาณ ซึ่งรูปคลื่นที่เกิดขึ้นจะทำให้สัญญาณหลักของเรามีรูปร่างผิดเพี้ยนไป หากความผิดปรกตินี้ไม่ถูกแก้ไขสัญญาณรบกวน ก็จะเข้าไปกวนระบบไมโครคอมพิวเตอร์ใน PLC ทำให้ PLC เกิดการทำงานในที่สุด

ภาพชุดที่สอง แสดงให้เห็นถึงลักษณะของสัญญาณเกิดขึ้นจริงในสายส่งสัญญาณ

ลูกศรสีดำที่แสดง คือสัญญาณหลักที่อยู่ในสายสัญญาณ
ส่วนสีน้ำเงินนั้นคือ สนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่รบกวนปะปนอยู่ ที่มันมีการแผ่สนามแม่เหล็กไฟฟ้ามาตัดผ่านสายสัญญาณ ทำให้สายสัญญาณ มีสัญญาณรบกวนปะปนเข้าไปด้วย โดยสัญญาณรบกวนที่เกิดขึ้นนั้น เฟสฟ้าจะกลับเฟสกัน ทำให้เมื่อเรานำสายไฟฟ้าที่เป็นสายสัญญาณมาตีเกลียว จะทำให้สัญญาณรบกวนเกิดการหักล้างกันเอง เสมือนเรานำเอากระแสไฟฟ้าด้านบวกและลบมาชนกันและเกิดการหักล้างกันจนเป็นศูนย์
ผลสรุปก็คือสัญญาณรบกวนก็จะหักล้างกันจนแทบไม่มีสัญญาณรบกวนปรากฏบนสายสัญญาณอีกต่อไป